การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้

                                          สำนักงานบัญชี รับทำบัญชี โปรแกรมบัญชี รับจดทะเบียนบริษัท อบรมบัญชี รับตรวจสอบบัญชี

การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้

        ตามความในมาตรา 4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2513 และมาตรา 65 ทวิ (9) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2525 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

  1. ลักษณะหนี้สูญที่จะจำหน่ายจากบัญชีลูกหนี้  คือต้องเป็นหนี้สูญที่เกิดจากการประกอบกิจการ และจะต้องเป็นหนี้ที่ยังไม่ขาดอายุความ
  2. กรณีลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนเกิน 2,000,000 บาท ต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้

         2.1. ได้ติดตามทวงถามให้ชําระหนี้ โดยมีหลักฐานการติดตามทวงถามอย่างชัดแจ้ง แต่ไม่ได้รับชําระหนี้ โดยปรากฏว่า

          2.1.1. ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เป็นคนสาบสูญ หรือมีหลักฐานว่าหายสาบสูญไป และไม่มีทรัพย์สินใด ๆ จะชําระหนี้ได้ หรือ

          2.1.2. ลูกหนี้เลิกกิจการ และมีหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่นมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้อยู่ในลำดับก่อนเป็นจำนวนมากกว่าทรัพย์สินของลูกหนี้

         2.2. ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่งหรือได้ยื่นคําขอเฉลี่ยหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีแพ่ง โดยได้มีหมายบังคับคดีของศาลแล้วและมีรายงานการบังคับคดีครั้งแรกของเจ้าพนักงานบังคับคดีอันสามารถแสดงได้ว่าได้มีการดำเนินการบังคับคดีแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดจะชําระหนี้ได้

         2.3. ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลายหรือได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลายหรือในคดีที่ผู้ชําระบัญชีร้องขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายโดยได้มีการประนอมหนี้กับลูกหนี้โดยศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยกับการประนอมหนี้นั้นหรือลูกหนี้ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายและได้มีการแบ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ครั้งแรกหรือศาลได้มีคำสั่งปิดคดีแล้ว

ดังนั้นถ้าดำเนินการตามหลักเกณฑ์ ตาม 2.1.-2.3แล้ว ปรากฏว่าลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใด

ชำระแล้วก็สามารถจำหน่ายหนี้สูญได้ในปีนั้น

  1. กรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน 2,000,000 บาท หนี้สูญที่จะจําหน่ายจากบัญชีลูกหนี้นอกจากต้องมีลักษณะตามข้อ 3 แล้ว ต้องมีการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ด้วย

3.1.ได้ดำเนินการตามข้อ 2.1. แล้ว

         3.2. ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่งและศาลได้มีคำสั่งรับคําฟ้องนั้นแล้ว หรือได้ยื่นคําขอเฉลี่ยหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีแพ่งและศาลได้มีคำสั่งรับคําขอนั้นแล้ว

         3.3. ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลายและศาลได้มีคำสั่งรับคําฟ้องนั้นแล้ว หรือในคดีที่ผู้ชําระบัญชีร้องขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายและศาลได้มีคำสั่งรับคําฟ้องนั้นแล้วหรือได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลาย และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาล แล้วแต่กรณี ได้มีคำสั่งรับคําขอรับชําระหนี้นั้นแล้ว

  1. กรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน 200,000 บาท และมีลักษณะตามข้อ 1 การจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ให้กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 2 หรือข้อ 3 ถ้าปรากฏว่าได้มีหลักฐานการติดตามทวงถามให้ชําระหนี้ตามสมควรแก่กรณีแล้ว แต่ไม่ได้รับชําระหนี้และหากจะฟ้องลูกหนี้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มกับหนี้ที่จะได้รับชําระ”

 

อ้างอิง

  1.      กฎกระทรวงฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)
  2.     กฎกระทรวง ฉบับที่ 374 (พ.ศ. 2534)

บริษัท กล่องทองการบัญชี จำกัด
 
✅รับจดทะเบียนบริษัท
✅รับทำบัญชี ด้วยโปรแกรมบัญชีออนไลน์
✅รับตรวจสอบบัญชี
✅รับวางระบบบัญชี
✅บริการที่ปรึกษาด้านบัญชี
 
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
 (662)147-1787
 065-449-1925, 061-505-2577
Line official account: @goldboxacct

บทความทางบัญชี


ติดตามเราได้ที่